การดูแลโรคและแมลงรบกวน
มะขามเปรี้ยวยักษ์ เป็นพืชทนแล้งสามารถเจริญเติบโตได้ดีแม้ในพื้นที่ที่แห้งแล้ง ธรรมชาติของมะขามมีความแข็งแรงทนทานมาก มะขามเปรี้ยวจะเริ่มสลัดใบในช่วง มีนาคม-เมษายน ในช่วงหน้าร้อนยิ่งแล้งก็ยิ่งร่วง แต่หลังจากที่รับน้ำในต้นฝน มะขามเปรี้ยวก็จะแตกใบอ่อน และในการแตกใบอ่อนก็จะออกดอกติดฝักมะขามจะออกหลายชุดใน 1 ปี แต่ในหนึ่งชุดนั้นจะมีหลายชุดประมาณ 10-20 ชุด ชุดแรกจะออกในช่วงต้นฝนประมาณพฤษภาคมแต่ก็ยังติดไม่มากนัก บางครั้งเจอลมเจอฝนออกก็อาจจะร่วง ส่วนชุดถัดไปจะเริ่มติดมากขึ้นในแต่ละรุ่นการสุกก็จะอยู่ไล่เลี่ยกัน ใช้เวลาตั้งแต่ออกดอกจนถึงฝัก แก่ก็ประมาณ 3-4 เดือนเลยทีเดียว แต่ถ้าจะเก็บฝักดิบในการนำไปแช่อิ่มจะอยู่ประมาณกันยายน-ตุลาคม ชุดแรกฝักแก่ประมาณธันวาคมแล้วก็ไล่ไปเรื่อยจนถึงชุดสุดท้าย อาจเก็บฝักแก่ประมาณ มีนาคม วิธีจะดูว่าฝักมะขามจะเก็บได้หรือยังในฝักแก่หรือที่ชาวบ้านเรียกกันว่า มะขามกอก เราจะสังเกตจากสีของเปลือกมะขามจะมีสีน้ำตาลนวลๆ หรืออาจเป็นสีน้ำตาลเหลือง เวลาสุกให้ใช้นิ้วดีดเบาๆ จะมีเสียงออกกลวงๆ แต่ถ้ายังไม่สุกเสียงในการดีดฝักจะออกแน่นๆ ในฝักที่สุกแล้วใช้นิ้วขูดที่ผิวของฝักจะไม่เป็นริ้วรอย เนื้อจะแห้งยุบตัวแยกออกจากเปลือก โรคของมะขามเปรี้ยวที่อาจจะเกิดคือโรคของแมลงรบกวนมากัดกินใบอ่อนบ้างแต่ไม่มาก ส่วนอีกโรคคือโรคราแป้งขาว จะเกิดเชื้อระบาดรุนแรง ในสภาพอากาศที่เย็นและแห้ง ซึ่งจะทำให้ต้นมะขามโทรม ถ้าเป็นในช่วงออกดอกติดฝักจะทำให้ลดจำนวนลง มักเกิดในช่วงปลายฝนเราสามารถใช้กำมะถันผงฉีดพ่นช่วงเย็นๆ ประมาณ 1-2 ครั้ง ราแป้งก็จะหายไป